วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สาเหตุที่ทำให้เด็กไทยร้องเพลงชาติไม่ถูกต้อง

จากการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของเด็กๆในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในต่างจังหวัด โรงเรียนนี้มีการปลูกฝังให้เด็กๆทุกคนที่มาโรงเรียน จะต้องเข้าแถวเคารพธงชาติและสวดมนต์ ก่อนขึ้นชั้นเรียนได้ตามปกติ เพื่อเป็นการปลูกฝังค่านิยมที่ดี เพื่อให้เด็กๆเกิดความสำนึกรักในชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ไทย เด็กๆทุกคนจะต้องได้ยินเพลงชาติ และฝึกร้องกันตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล จนถึงประถมศึกษาปีที่หก เด็กๆอนุบาลนั้นบางคนพูดยังไม่ชัด แต่ก็มีความพยายามที่จะร้องคลอตามเนื้อเพลงไปได้จนจบเพลง ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ต้องนับถือความใจเย็นของคุณครูที่ต้อง พยายามจับเด็กๆให้เข้าแถวยืนตรง ดูแล้วเหนื่อยเหมือนการจับปูใส่กระด้ง แต่ที่น่าแปลกคือเด็กๆในชั้นประถมปลาย บางคนยังร้องเพลงชาติไทย ไม่ถูกต้องและไม่ไพเราะ แม้ว่าเพลงชาติไทย จะต้องร้องหน้าเสาธงทุกเช้า และร้องกันมานาน แต่น่าแปลกที่เด็กๆยังร้องไม่ถูกต้อง ทั้งในด้านเนื้อร้องการ ออกเสียง อักขระ พยัญชนะ คำควบกลํ้า ทำนอง และจังหวะของเพลงเนื่องจากยังไม่มีการ เรียนการสอนอย่างจริงจัง โดยรวมแล้วสาเหตุที่ทำให้เด็กๆ ร้องเพลงชาติไทยไม่ถูกต้อง และยังขาดความไพเราะอาจมาจาก การถ่ายทอดที่ไม่มีคุณภาพ คือเด็กๆในโรงเรียนจะถูกสั่งสอนโดยการใช้วิธีของการซึมซับทีละน้อยจนเกิดความคุ้นเคยกับเพลง ร่วมกับการสอนจากผู้ใหญ่หลายๆท่านอย่างไม่เป็นทางการ อาจสอนด้วยปากเปล่า หรือคำบอกเล่า ทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของเนื้อเพลง และทำนองไป ไม่ถูกต้องตามแบบของต้นฉบับ นอกจากนั้นโรงเรียนยังไม่มีการฝึกสอนให้เด็กๆร้องเพลงชาติไทยในแบบฉบับที่ถูกต้อง ทำให้เด็กๆถูกละเลยในเรื่องนี้จึงร้องเพลงกันแบบผิดๆถูกๆมาตลอด ที่ร้ายแรงคือทุกคนยังขาดความเข้าใจและยังไม่เห็นความสำคัญของการร้องเพลงชาติให้ถูกต้อง
จากที่ได้สังเกตและทำการวิเคราะห์เบื้องต้น วิธีการที่จะช่วยให้เด็กๆร้องเพลงชาติไทยได้อย่างถูกต้องคือ จะต้องมีการปรับเทคนิคการสอนร้องเพลงชาติไทยให้มีคุณภาพมากกว่านี้ และจะต้องทำซ้ำๆอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มคอร์สการสอนร้องเพลงชาติไทยเข้าไปในวิชาดนตรีของเด็กๆ ให้มีการสอนตั้งแต่การอ่านเนื้อเพลง อ่านโน้ต การขึ้นเสียงสูง เสียงต่ำ รวมถึงการสื่ออารมณ์และความหมายของเพลง เพื่อให้เด็กๆเกิดความซาบซึ้งและร้องเพลงชาติไทยให้ออกมาจากหัวใจจริงๆ และสุดท้ายคือสิ่งที่สำคัญยิ่งคือ ทุกคนในโรงเรียนจะต้องให้ความร่วมมือกัน และรณรงค์ให้เด็กๆในโรงเรียน และชุมชนโดยรอบหันกลับมาร้องเพลงชาติให้ถูกต้อง ร้องด้วยความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ
การที่จะช่วยให้เด็กๆร้องเพลงชาติได้อย่างถูกต้อง ทุกคนจะต้องช่วยกัน เพื่อให้เยาวชนไทยเกิดค่านิยม และเจตคติที่ ดีต่อการร้องเพลงชาติไทยอย่างถูกต้อง และช่วยกันอนุรักษ์เพลงชาติไทย ไว้และยังเป็นการปลูกจิตสำนึกให้เด็กๆเกิดความรัก และหวงแหนในชาติบ้านเมืองของตนสืบไป

ย้อนรอยบทกวีที่น่าจดจำ ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง … จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง

 บทกวีที่มีความคมคาย ฟังครั้งใดก็จับใจไปเสียทุกที จริงๆแล้วบทกวีนี้เป็นบทกวี "เพลงชาติไทย" ที่ประพันธ์โดย คุณนภาลัย สุวรรณธาดา (นามสกุลเดิม ฤกษ์ชนะ) เพื่อส่งเข้าประกวดที่สถานีวิทยุแห่งหนึ่ง และได้รับรางวัลชนะเลิศ ในปี พ.ศ.2510 สมัยยังเป็นนิสิตอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนที่เหตุการณ์เลวร้ายจะก่อกำเนิดขึ้นในประเทศไทยตามมาอีกหลายต่อหลายครั้งทั้ง เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516  หรือ วันมหาวิปโยค เหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และเหตุการณ์เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2535 หรือเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เหตุการณ์เลวร้ายต่างๆที่คนไทยกำลังจะฆ่ากันเอง ด้วยความที่บทกวีนี้มีความสละสลวย มีสัมผัสนอก สัมผัสใน ครบถ้วนกระบวนความ ทำให้คนไทยแทบทุกคนจดจำได้ดี หลังจากที่บทความนี้ได้ถูกแพร่กระจายผ่านสื่อต่างๆ  เป็นบทความที่ทำให้คนไทยได้ขบคิด และสร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่คนในชาติด้วยบทกวีที่มีความไพเราะดังนี้
ธงชาติไทยไกวกวัดสะบัดพลิ้ว 
ผ้าผืนน้อยบางเบาเพียงเท่านี้ แลริ้วริ้วสลับงามเป็นสามสี 
แต่เป็นที่รวมชีวิตและจิตใจ
ชนรุ่นเยาว์ยืนเรียบระเบียบแถว 
"ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย" ดวงตาแน่วนิ่งตรงธงไสว
ฟังคราวใดเลือดซ่านพล่านทั้งทรวง
ผืนแผ่นดินถิ่นนี้ที่พำนัก 
แผ่นดินไทยไทยต้องครองทั้งปวง เราแสนรักและแสนจะแหนหวง 
ชีพไม่ล่วงใครอย่าล้ำมาย่ำยี
เธอร้องเพลงชาติไทยมั่นใจเหลือ 
เพลงกระหึ่มก้องฟ้าก้องธาตรี พลีชีพเพื่อชาติที่รักทรงศักดิ์ศรี 
แม้ไพรีได้ฟังยังถอนใจ
แต่สิ่งหนึ่งซึ่งไทยร้าวใจเหลือ 
บ้างหากินบนน้ำตาประชาไทย คือเลือดเนื้อเป็นหนอนคอยบ่อนไส้ 
บ้างฝักใฝ่ลัทธิชั่วน่ากลัวเกรง 
ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง 
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง 
จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง

หลังจากได้อ่านบทประพันธ์นี้ทำให้นึกย้อนมองกลับดูสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน รวมถึงอดีตเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในบ้านเมืองเรา จนประเทศไทยจะร้อนเป็นไฟ นึกแล้วก็ใจหายที่ ทำไมคนในชาติเดียวกัน มีสายเลือดของความเป็นไทยเหมือนๆกันถึงจับมีด ถือปืน มารบราฆ่าฟันกันเองแบบนี้ แล้วบรรพบุรุษของเราจะนอนหลับอย่างสงบได้อย่างไร แล้วเพลงชาติไทยของเราจะมีเอาไว้เพื่ออะไร ถ้าคนในแผ่นดินยังไม่รักกันเองเลย
แต่ในเหตุการณ์แห่งความเลวร้ายที่เกิดขึ้น ก็ยังมีสิ่งเล็กๆที่เรียกว่าความเมตตาที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในแผ่นดิน เพราะเมื่อมีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น ก็ยังได้เห็นน้ำใจคนไทยที่ยังมีจิตใจเมตตาเข้ามาให้ความช่วยเหลือเยียวยาคนไทยด้วยกันเอง ถือว่าในความเลวร้ายก็ยังมีความงดงามของน้ำใจหลงเหลืออยู่ และต่อไปหวังว่าเหตุการณ์เลวร้ายแบบนั้นจะไม่เกิดขึ้นในประเทศไทยของเราอีก

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ย้อนสมัยวัยเด็ก…เข้าแถวร้องเพลงชาติไทย

เริ่มเข้าสู่ปีใหม่มา หลายคนก็เริ่มกางนิ้วนับอายุกันแล้ว ฉันก็เช่นกัน แต่อาจต้องใช้นิ้วคนอื่นมาช่วยด้วย เพราะลำพังยี่สิบนิ้วน้อยๆที่มีคงยังไม่พอ เลขสามแล้วค่ะคุณขา แอบ Strong เบาๆ ด้วยความมั่นเบ้าในใบหน้า เมื่อนับอายุตัวเองดูแล้วก็ทำให้เกิดความคิดหลายๆอย่าง ต่างๆนานา เข้ามาในสมองอยู่เรื่อยๆ บางครั้งก็ครั้งก็คิดย้อนไปถึงวัยเด็ก คิดๆแล้วก็ขำ เราผ่านจุดๆนั้นมาได้อย่างไร จุดที่เรายืนเข้าแถวตัวดำมืด ท่ายืนตรงเป๊ะ!! เข้าแถวเคารพธงชาติหน้าเสาธงทุกเช้า แล้วเปล่งเสียงร้องเพลงชาติไทยด้วยความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ประหนึ่งว่าเมื่อวานพึ่งกลับจากการไปออกรบกับพม่ารามัญ พูดก็พูดเถอะ ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ก็จะยังคงเปล่งเสียงร้องด้วยความภาคภูมิเหมือนเดิม ด้วยความที่เป็นเด็กต่างจังหวัดใสๆซื่อๆ ใครสอนอย่างไรก็ทำอย่างนั้น
เมื่อตอนเด็ก จำได้เลยตอนนั้นเรียนประถมศึกษาอยู่โรงเรียนแห่งหนึ่งในภูมิลำเนาบ้านเกิดทางแถบอีสาน ด้วยฐานะทางบ้านที่ค่อนข้างไปทางรากหญ้า พ่อแม่ก็ส่งให้เรียนโรงเรียนวัดใกล้ๆบ้าน เพราะก็ไม่ได้คิดว่าการศึกษาจะมีความสำคัญกับชีวิตอะไรขนาดนั้น แต่ผิดค่ะ ผิดอย่างแรงเลย การศึกษานี่แหละสำคัญมากๆโดยเฉพาะเรื่องภาษาที่สอง สาม และสี่ ที่คุณควรพูดได้ ถึงแม้ว่าระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนแถวบ้านตอนนั้นจะยังอ่อนด้อยกว่าโรงเรียนดังๆในตัวเมือง แต่ก็มีข้อดีในด้านอื่นๆอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะเรื่องของกฎระเบียบ กติกามารยาท ในการอยู่ร่วมกันในสังคม เริ่มกันง่ายๆอย่างเช่น การที่เด็กนักเรียนทุกคนจะต้องมาโรงเรียนแต่เช้า เพื่อมาเข้าแถวตอนเรียงหนึ่ง รอเคารพธงชาติที่หน้าเสาธงในตอน แปดโมงเช้าของทุกๆวัน พร้อมกับท่องสวดมนต์ยามเช้าท้าทายพระอาทิตย์ดวงโตที่ปล่อยพลังงานแห่งความอบอุ่นที่บางทีก็ดูจะมากเกินไปหน่อย ทำให้เด็กๆทุกคนที่มาเรียนมีโทนสีผิวไปทางเดียวกันหมด ถือว่าได้เป็นการอาบแดดยามเช้ารับวิตามินบำรุงกระดูก พร้อมกับได้ผิวสีแทน แทนที่จะขาว แต่ฉันก็มองว่ามันเป็นเรื่องที่ดูน่ารักตามประสาเด็กๆ ที่คุณครูทุกท่านอบรมบ่มสอนกันว่า ทุกคนจะต้องยืนตัวตรง อกผาย ไหล่ผึ่ง เมื่อดนตรีขึ้น ให้ร้องเพลงชาติเสียงดังๆ ร้องให้เต็มเสียง ให้ดังกึกก้องไปทั่วโรงเรียน แล้วนักเรียนทุกคนก็พร้อมใจกันปฏิบัติเช่นนั้นเรื่อยมา
เข้าแถวร้องเพลงชาติไทย
ฉันก็เป็นเด็กอีกคนหนึ่งที่ได้รับการปลูกฝังแบบนั้น มันแทรกซึมเข้าไปเป็นนิสัยมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อเวลาที่ได้ยินเสียงเพลงชาติไทยดังขึ้นตอนเช้าตามสถานที่สาธารณะ จะหยุดแล้วยืนตรงสงบนิ่ง เพื่อแสดงถึงความเคารพในความเป็นชาติที่มีเอกราช และฉันเป็นอีกคนหนึ่งที่รักชาติ ภาคภูมิใจที่ได้ร้องเพลงชาติไทย เพลงที่ไพเราะที่สุด

เด็กในวัยที่ควรสอนร้องเพลงชาติ

ในทุกๆประเทศจะมีเพลงประจำชาติเป็นของตนเอง เพราะเพลงชาติเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเอกราชของประเทศนั้นๆ ไม่อยู่ใต้อำนาจ และไม่เป็นเมืองขึ้นของใคร เพลงชาติถือได้ว่ามีความสำคัญ เป็นศาสตร์ทางด้านดนตรีที่หล่อหลอมจิตใจมนุษย์ให้มีความคล้อยตามไปกับเสียงดนตรี เพลงชาติก็จะช่วยกระตุ้นให้คนในชาติเกิดความรัก ภาคถูมิใจ เกิดความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สังเกตได้จาก เวลาที่มีการแข่งขั้นกีฬาระดับชาติในแต่ละรายการจะต้องมีการเชิญธงชาติ รวมถึงให้นักกีฬา เปล่งเสียงร้องเพลงประจำชาติของตนด้วยความภาคภูมิใจ และด้วยพลังแห่งศรัทธาในความเป็นชาติของตนเอง สำหรับประเทศไทยก็เหมือนกันกับประเทศอื่นๆ ประเทศไทยของเรามีความเป็นเอกราช มีธงชาติ และเพลงชาติไทย เป็นของตนเอง ทุกๆคนในประเทศสามารถร้องเพลงชาติไทยได้เพราะมีการตอกย้ำด้วยการมีนโยบายการยืนตรงเคารพธงชาติในทุกๆวัน วันละสองครั้งในเวลา 8.00 น. และ18.00 น . โดยรัฐบาลจะช่วยกระจายเสียงเพลงชาติไทยผ่านระบบวิทยุและโทรทัศน์ ช่วยเสริมสร้างให้นโยบายนี้เดินหน้าต่อได้อย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะการปลูกฝังตั้งแต่เด็กๆเลยจะเป็นการช่วยให้เด็กได้ซึมซับมากที่สุด อย่างเช่น การที่มนแต่ละโรงเรียนได้มีกิจกรรมการเข้าแถวยืนตรงเคารพธงชาติ และให้เด็กนักเรียนทุกคนเปล่งเสียงร้องเพลงชาติไทยให้ดังกึกก้องไปทั่วทั้งโรงเรียน วิธีการนี้จะช่วยให้เด็กๆได้ซึมซับและขับร้องเพลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากบางคนที่ร้องไม่ได้เลย ก็จะค่อยๆร้องได้ทีละนิด เนื่องจาก เด็กๆจะต้องร้องเพลงชาตินี้อย่างน้อยวันละหนึ่งครั้งในตอนเช้านั่นเอง
               
เด็กในวัยที่ควรสอนร้องเพลงชาติ
เด็กในวัยที่ควรสอนร้องเพลงชาติ
ในการเรียนการสอนวิชาดนตรีและการขับร้อง จะพบได้เลยว่าเด็กนักเรียนที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง
10-12 ปี จะเป็นช่วงวัยที่กำลังเรียนรู้ได้ดี เพราะการเรียนดนตรีค่อนข้างยาก ทำให้ในหลายๆโรงเรียนจะมีวิชาบังคับให้เด็กเรียนดนตรีในช่วงประถมศึกษานั้นเอง เนื่องจากวัยนี้เริ่มมีความสนใจการอ่านมากขึ้น มีความสนใจในเรื่องที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น พฤติกรรมที่กล่าวมานี้มีความสอดคล้องกับพัฒนาการทั่วไปของผู้เรียน ที่อยู่ในวัยเด็กวัยประถมศึกษา นักจิตวิทยาพัฒนาการชาวสวิสเรียกวัยนี้ว่า Concrete Operational Stage  เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต วัยแห่งการจดจำ หากได้รับการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง ย่อมได้รับสิ่งผิดๆเหล่านั้นด้วย ดังนั้น ทุกโรงเรียนจึงต้องมีการสอนดนตรี สอนการร้อง สอนการอ่านตัวโน้ตให้ถูกต้องตั้งแต่ช่วงวัยนี้ รวมถึงสอนให้เด็กๆในวัยนี้ร้องเพลงชาติไทยให้ถูกต้อง ทั้งคำควบกล้ำ คำสะกด ช่วงจังหวะเว้นว่างเพื่อหายใจ และอื่นๆ
                จะเห็นได้ว่าการร้องเพลงชาติไม่ใช่เรื่องยาก โดยผู้ใหญ่จะต้องให้เด็กได้เรียนรู้ไปทีละนิดๆ ตั้งแต่เด็กเล็กระดับอนุบาล เรื่อยมาจนถึงช่วงวัยประถมศึกษาที่เด็ก นอกจากจะต้องร้องเพลงได้แล้ว จะต้องร้องเพลงชาติไทยให้ถูกต้องอีกด้วย

เปิดตัวเจ้าของเสียงที่คุ้นหูคนไทย

ธงชาติและเพลงชาติไทย
       เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย
       เราจงร่วมใจยืนตรงเคารพธงชาติ
       ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
       และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย
                เมื่อได้อ่าน ทุกคนต้อง อ๋อ! สำหรับประชาชนชาวไทยทุกคนไม่ว่าจะ เด็กเล็ก หรือผู้ใหญ่ จะต้องเคยได้ยินเสียงนี้อย่างแน่นอน เพราะมันเป็นเสียงขึ้นต้นก่อนเพลงชาติไทยจะมาในเวลา 8.00 . กับ 18.00 . นั่นเอง บางคนถึงกับเอาไปล้อเลียน บางคนก็สามารถพูดตามได้ ก็คำขึ้นต้นเพลงนี้เปิดให้เราได้ยินอยู่ทุกๆวัน วันละสองเวลา รวมเวลากว่า 30 กว่าปีแล้ว ใครจำไม่ได้คงต้องพิจารณาตัวเองแล้วจริงๆ หลายคนเคยได้ยินเพียงเสียงอันเข้มแข็งและดุดัน แต่ยังไม่มีใครรู้เลยว่า เจ้าของเสียงนั้นเป็นใคร มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร และเขามาเป็นเจ้าของเสียงนี้ได้อย่างไร
                เจ้าของเสียงพูดคำเชิญชวนให้ประชนคนไทยทุกคนยืนตรงเคารพธงชาติก่อนเพลงชาติไทยจะบรรเลง เขาผู้นั้นคือ คุณประพันธ์ หิรัญพฤกษ์ อดีตผู้ประกาศข่าวของกรมประชาสัมพันธ์ ปัจจุบันอายุ 74 ปีแล้ว ได้เกษียนราชการ ขณะนี้ยังทำงานรับใช้มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ ของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี แต่เดิมคุณประพันธ์ เป็นนักดนตรีอยู่วงสุนทราภรณ์ ต่อมาได้ทำการสอบผ่านเข้าทำงานรับราชการเมื่อปี พ.ศ. 2510 ที่กรมประชาสัมพันธ์ ในตำแหน่งผู้ประกาศข่าว รวมเวลาที่รับราชการกว่า 40 ปี จุดเริ่มต้นที่ได้มาเป็นผู้พูดคำเชิญชวนให้ประชาชนยืนตรงเคารพธงชาตินั้นเริ่มจาก คุณสุรินทร์ แปลงประสบโชค ผู้อำนวยการช่อง 11 เมื่อปี พ.ศ. 2524 เป็นผู้เขียนประโยคเหล่านั้นขึ้นมา แล้วให้คุณประพันธ์เป็นผู้อ่าน ได้เริ่มออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เรื่อยมาจนถึง ปี พ.ศ. 2554 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ออกรายการรวมการเฉพาะกิจ ได้ทำการว่าจ้างให้คุณประพันธ์ อัดเสียงใหม่ โดยใช้บทพูดเดิม นั่นคือใช้เสียงเราปัจจุบันของคุณประพันธ์ จากนั้นได้ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันนี้ เรียกได้ว่าเป็นเสียงที่เป็นอมตะเลยก็ว่าได้
ทุกวันนี้เมื่อเราได้ยินเสียงๆนี้พูดประโยคนี้ในตอนเช้า และเย็นของทุกๆวัน ก็เตรียมตัวรับรู้ได้เลยว่า ควรยืนตรงเพื่อเคารพธงชาติได้แล้ว และบางครั้งหลายคนอาจไม่สะดวกที่จะยืนตรง หรือไม่สะดวกที่จะเปล่งเสียงร้องเพลง อย่างน้อยๆก็ขอให้รำลึกและรู้สึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษ ที่กอบกูชาติไทย ด้วยความภาคภูมิใจก็ยังดี ที่สำคัญที่สุด ควรสืบทอดและส่งต่อธรรมเนียมปฏิบัตินี้ให้แก่เยาวชนรุ่นหลังให้พวกเขาเหล่านั้นเกิดความสำนึกรักชาติบ้านเกิดของตัวเอง
เปิดตัวเจ้าของเสียงที่คุ้นหูคนไทย
เปิดตัวเจ้าของเสียงที่คุ้นหูคนไทย

ที่มาของเพลงชาติไทย

แรกเริ่มเดิมทีนั้นประเทศสยาม หรือประเทศไทยในปัจจุบัน ยังไม่มีเพลงชาติเป็นของตน ใช้เพียงเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อเป็นการถวายความเคารพแด่พระมหากษัตริย์ต่างแดนเท่านั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 คณะราษฎรก็ได้ประกาศใช้เพลงชาติมหาชัยที่แต่งโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) แต่อย่างไรก็ดียังไม่ได้รับความนิยม จึงได้มีการเปลี่ยนทำนองเพลงชาติเสียใหม่โดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เป็นผู้แต่งทำนองเพลงชาติอย่างเป็นทางการ ในส่วนของเนื้อร้องของเพลงชาติฉบับแรกเริ่มนั้นก็ได้ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เป็นผู้แต่งเนื้อเพลงให้มีความยาวถึงสองบท ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไป แต่กลับไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นเพลงชาติ เนื้อรองเพลงชาติฉบับเดิมคือ
ที่มาของเพลงชาติไทย
ที่มาของเพลงชาติไทย
แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง
ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา
ร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย
บางสมัยศัตรูจู่มารบ
ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท
สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย
น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชา
เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสสระเสรี
ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย
สถาปนาสยามให้เทิดชัยไชโย


เมื่อเวลาต่อมาในปี 2482 ประเทศสยาม ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น ประเทศไทยอย่างเป็นทางการถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นจุดเริ่มต้นของเนื้อเพลงชาติไทยในปัจจุบัน เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อประเทศแล้วรัฐบาลจึงมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนเนื้อร้อง จึงได้ทำการจัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติไทยเสียใหม่เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ แต่มีข้อกำหนดที่ตายตัวเอาไว้ว่าเปลี่ยนเนื้อเพลงได้แต่ยังคงรักษาทำนองเพลงฉบับเดิมซึ่ง  พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เป็นผู้ประพันธ์ แต่มีข้อกำหนดเพิ่มเติมขึ้นมาสำหรับเนื้อเพลงคือจะต้องมีความยาวของเนื้อเพลงเพียง 8 วรรคเท่านั้น ซึ่งเมื่อเทียบกับเนื้อเพลงเดิมแล้วนั้นเนื้อเพลงฉบับใหม่จะต้องมีความสั้นลง และจะต้องได้ใจความ ที่สำคัญจะต้องมีคำว่า ไทยปรากฏอยู่ในเนื้อเพลงนั้นด้วย
ผลกรประกวดเนื้อเพลงชาติไทยฉบับใหม่พบว่า บทปะพันธ์เนื้อเพลงของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลจึงได้ประกาศรับรองว่าให้ใช้เนื้อร้องเพลงชาติไทยตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยเนื้อเพลงชาติไทยของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์คือ
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล
ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย

ตั้งแต่ปี 2482 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันประเทศไทยยังคงใช้ทำนองและเนื้อเพลงเดิม ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขแต่อย่างใด เป็นเพลงที่มีความไพเราะ และมีความหมายที่ลึกซึ้งมาก

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ฝึกเล่นดนตรีด้วยเพลงชาติไทยฝึกเล่นดนตรีด้วยเพลงชาติไทย

จำกันได้ไหมเครื่องดนตรีชิ้นแรกของคุณคืออะไร? แล้วเพลงๆแรกที่คุณหัดเล่นคือเพลงอะไร? สำหรับมือใหม่หัดซ้อมดนตรีคงไม่มีเพลงอะไรที่เบสิกไปกว่าการฝึกเล่นดนตรีด้วย เพลงชาติไทยเพราะเป็นเพลงประจำชาติที่เราได้ยินกันมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย ได้มีการฟังวนซ้ำไปซ้ำมา จนเกิดความคุ้นหูมากกว่าเพลงอื่นๆ สำหรับคนที่คิดจะเล่นเพลงนี้ก็ไม่ยากเลย เพียงแค่ทำการค้นหาตัวโน้ตเพลงชาติไทยแล้วก็ทำการฝึกเล่นเองได้เลย
                สำหรับโน้ตเพลงชาติไทยสำหรับเอาไว้ให้ลองฝึกซ้อมเครื่องดนตรีประเภทเป่าก็จะมีความยาวไม่มากนัก เป็นโน้ตสั้นๆง่ายๆ หากลองฝึกฝนด้วยความตั้งใจจริงๆ หนึ่งถึงสองวันก็สามารถเล่นเป็นเพลงได้แล้ว เพราะเนื้อเพลงชาติที่เราได้ยินกันทุกๆเวลา 8.00 กัน 18.00 นาฬิกาของทุกวันนั้นมีความยาวไม่ถึงหนึ่งนาทีด้วยซ้ำไป โดยเนื้อหาของเพลงชาติไทยก็จะเป็นเพลงแสดงประวัติความเป็นมา แสดงความระลึกถึง และขอบคุณบรรพบุรุษของไทย แสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติไทย เป็นการส่งเสริมและปลูกฝังให้คนในชาติเกิดพลังแห่งความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกิดความรักชาติ โดยเราจะทำการร้องเพลงชาติวันละสองครั้ง ตอนเช้าเพื่อเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา และตอนเย็นเพื่อเชิญธงชาติลงจากยอดเสา และทุกคนจะต้องแสดงความเคารพธงชาติด้วย การยืนตรง หรือร้องเพลงนั่นเอง
                เนื้อเพลง และโน้ตเพลงชาติไทย สำหรับเครื่องดนตรีประเภทเป่า โดยทั่วไปคือ
--- ดนตรีนำ ---
ดด มซ ซ ซล ทดํ รํมํ
รํดํ ลซ ลท ดํมํ ดํรํ ดํดํ  ดํ ดํดํ
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
ดด มซ ซ ซล ซฟ ลซ   
เป็นประชารัฐ  ไผทของไทยทุกส่วน
ม ฟม รร     รร  มร  ดด
อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล
ดด มซ    ซล ซฟ ลซ
ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี
ซ ลท  ซรํ       ล ทล  
ไทยนี้รักสงบ  แต่ถึงรบไม่ขลาด
  ลซ  ฟร    ฟ ลซ  มด
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
ด มร    รล    ลซ
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
ดด มซ ซ ซล ทดํ รํมํ
เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย  ชโย
รํดํ ลซ ลท ดํมํ ดํรํ ดํดํ  ดํ ดํดํ


ฝึกเล่นดนตรีด้วยเพลงชาติไทย
ฝึกเล่นดนตรีด้วยเพลงชาติไทย
                         การเล่นดนตรีนั้นไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปขอเพียงแค่มีใจรักในเสียงดนตรี วันนี้เริ่มต้นด้วยการเล่นเพลงง่ายๆแต่มีความหมายลึกซึ้งอย่าง  เพลงชาติไทย ในวันข้างหน้าก็ขยับไปเล่นเพลงที่ยากขึ้น ยาวขึ้น มีตัวโน้ตมากขึ้น ทุกคนสามารถทำได้ ฝึกเล่นเองได้ ของเพียงแค่มีความตั้งใจ อดทน และมีความเพียรพยายามเท่านั้น

ธงชาติไทยกับความหมายที่ลึกซึ้งธงชาติไทยกับความหมายที่ลึกซึ้ง

เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าทำไมทุกประเทศจะต้องมีธงประจำชาติ แล้วแต่ละชาติจะต้องมีการร้องเพลงประจำชาติด้วย สำหรับประเทศไทยเองก็มีเช่นกัน ธงชาติไทย นั้นมีความหมายที่ลึกซึ้งมาก หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อน ว่าธงชาติของเราถือกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร และทำไมทุกคนถึงต้องเคารพธงชาติ
ธงชาติ คือสัญลักษณ์แสดงความเป็นเอกราชของชาตินั้น ประเทศไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ได้เริ่มมีการใช้ธงชาติ และมีการเปลี่ยนแปลงธงชาติมาหลายรูปแบบตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) เรื่อยมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชการที่ 6) ได้ถือกำเนิด ธงชาติไทย (Thailand National Flag) หรือธงไตรรงค์ ถูกประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2460 แทนธงแบบเดิมที่มีรูปช้างเผือกอยู่ตรงกลาง ถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงออกถึงความเป็นชาติที่มีความเป็นเอกลักษณ์ มีศักดิ์ศรีของความเป็นไทย ความหมายของธงชาติไทยนั้นมีความหมายที่ลึกซึ้ง เป็นธงที่แสดงถึงความเป็นเอกราชอธิปไตยของคนไทย คำว่า ธงไตรรงค์ได้มาจากการรวมกันของคำ 3 คำ คือคำว่า ธง คำว่าไตร (แปลว่า 3) และคำว่า รงค์ (แปลว่าสี) เมื่อรวมกันจึงแปลได้ว่า ธงสามสีนั่นเอง แถบแต่ละสีก็จะมีความหมายที่เฉพาะตัว โดยแถบสีแดง หมายถึง ชาติรวมถึงพลังแห่งความสามัคคีปรองดอง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ แถบสีขาว หมายถึง ศาสนาแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ มีเครื่องมืออบรมสั่งสอนจิตใจให้บริสุทธิ์ดุจสีขาว แถบสีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสูงสุด เป็นจุดศูนย์ความเชื่อมั่นของคนในชาติ ดังนั้นจึงสรุปสั้นๆได้ว่า ธงชาติไทย หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า ธงไตรรงค์ นั้นมีความหมายถึง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ส่วนสาเหตุที่ทำให้ธงชาติไม่ปรากฏเพียงแค่ 3 แถบ แต่ปรากฏเป็น 5 แถบนั้นเนื่องมาจากความต้องการให้เกิดความสมมาตรและความสละสลวยของธงชาติ ไม่ว่าการเชิญธงขึ้นลงจะใช้ด้านไหน กลัวหัวม้วนหางอย่างไร ธงชาติไทยก็จะปรากฏเป็นแถบแบบเดิมทุกประการนั่นเอง ธงชาติไทยจึงถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องได้รับการเคารพอย่างสูง จึงเป็นที่มาของการที่ในสถานที่ราชการจะต้องมีการเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาในตอนเช้า และเชิญธงชาติลงจากยอดเสาในตอนเย็น และนอกจากนั้นธงชาติไทย ยังมีความสำคัญทางจิตใจ ที่แสดงถึงความรักมั่นในเอกราชของชาติไทย เป็นจุดศูนย์รวมความรู้สึกเชื่อมั่นที่มีของคนในชาติ นอกจากนั้นยังเป็นเสมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่อาจลบหลู่ และสามารถเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชาติ เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นของประเทศไทยให้ยั่งยืนสืบไปชั่วลูกชั่วหลาน
ธงชาติไทยกับความหมายที่ลึกซึ้ง
ธงชาติไทยกับความหมายที่ลึกซึ้ง

ไม่ใช่แค่ไทยที่รักชาติ

หากท่านได้ติดตามสื่อในช่องทางต่างๆไม่ว่าจะเป็นสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิลทีวี วิทยุชุมชน แทบทุกสื่อจะให้ความร่วมมีกับรัฐบาลในการปฏิบัติตามนโยบายสร้างชาติให้เข้มแข็ง และสร้างจิตสำนึกในการรักชาติให้กับเด็กๆและเยาวชนคนไทยด้วยการเปิดเพลงชาติไทย จะเปิดวันละ 2 เวลา เวลา 08.00 น. เปิดเพลงชาติเพื่อเชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสา และ เวลา 18.00 จะเปิดเพลงชาติเพื่อเชิญธงลงจากยอดเสา ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมายาวนานหลายสิบปี เนื่องจาก ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไทย เราจึงควรยืนตรงเคารพธงชาติ เพื่อความภาคภูมิใจในเอกราชและความเสียสละของบรรพบุรุษไทย เพื่อสร้างสำนึกให้กับลูกหลาน ทำให้ลูกหลานได้มีความสำนึกในบุญคุณที่บรรพบุรุษของเราได้เสียสละเลือดเนื้อ แลกมาด้วยชีวิตเพื่อปกป้องประเทศไทยให้คงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน
การแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิล ที่เพิ่งจบรอบแรกไปนั้น ใครได้ดูการถ่ายทอดสดตอนต้นรายการ จะเห็นว่า ก่อนเริ่มการแข่งขัน ทางสนามจะเปิดเพลงชาติของคู่แข่งขันทั้งสองชาติก่อน นักฟุตบอลทุกคนจะยืนตรงเคารพธงชาติและเพลงชาติของชาติตัวเอง และร้องเพลงชาติไปด้วย บางชาติขลังถึงกับกำหมัดแนบไว้ที่หัวใจเพื่อแสดงออกถึงความรักชาติและความภูมิใจในชาติ
เราจะเห็นได้ว่าการสร้างความภาคภูมิใจในชาติ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ใช่เพียงแค่ประเทศไทยที่มีธรรมเนียมปฏิบัติเช่นนี้ อยากจะบอกว่าแม้แต่ในประเทศที่เจริญแล้วอย่าง ประเทศสหรัฐอเมริกา มีประชากรอาศัยอยู่แบบรวมมิตรหลากหลายชนชาติ แต่อเมริกาเองก็มีวิธีการรับมือเพื่อปลูกฝังให้คนที่อาศัยอยู่ในอเมริกันปัจจุบันมีความรักชาติอเมริกัน โดยไม่สนใจว่าพื้นเพจะเป็นอย่างไร จะมาจากไหน แต่เมื่ออยู่บนแผ่นดินอเมริกัน จะต้องรักในชาติอเมริกัน ยกตัวอย่างง่ายๆเลย เวลาที่คนอเมริกันเล่นกีฬา ไม่ว่าจะประเภทไหนก็ตาม ธรรมเนียมของเขาคือจะต้องร้องเพลงชาติก่อน และร้องด้วยความภาคถูมิใจ เราจะเห็นได้ตามโทรทัศน์เมื่อเวลามีการถ่ายทอดสด เมื่อคนอเมริกันร้องเพลงชาติ จะนำมือกำหมัดทาบลงตรงหน้าอกข้างซ้ายแล้วร้องเพลงชาติอย่างภาคภูมิว่าชาติเป็นของพวกเขาทุกคน
ทุกวันนี้อยากให้คนไทยเกิดสำนึกรักในความเป็นชาติไทยของเราบ้าง เพราะหากพูดถึงเรื่องรักชาติก็จะมีกลุ่มคนออกมาดราม่า หาว่าเป็นพวกคลั่งชาติ ถือเป็นการบั่นทอน เป็นบ่อนทำลายชาติ พวกคุณเหล่านั้นเป็นบ่อเกิดแห่งรอยร้าวที่จะทำให้คนในชาติแตกเป็นสองกลุ่ม คุณกำลังทำให้คนในชาติทะเลาะกันเอง และเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ดูเหมือนจะห่างไกลในความสำนึกในบุญคุณแผ่นดินเข้าไปทุกวัน ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนจะต้องร่วมมือกันทำสิ่งเล็กๆน้อยๆด้วยการร้องเพลงชาติไทย เพื่อแสดงออกว่าเรารักความเป็นไทย รักในประเทศไทยขอเรา
รักชาติไทย
รักชาติไทย

ทำไมต้องเคารพธงชาติวันละ 2 ครั้ง ?

เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมทุกประเทศจะต้องมีเพลงชาติไทย แล้วจะต้องมีการร้องเพลงชาติ บางคนอาจจะไม่ได้นึกถึงเพราะ การร้องเพลงชาติโดยเฉพาะในประเทศไทยเป็นเรื่องปกติ เพราะคนไทยมีความเป็นเอกราช และมีความรักชาติอยู่ในสายเลือด แต่ก็ยังมีเยาวชนรุ่นใหม่อยู่ไม่น้อยที่เกิดคำถามแห่งความสงสัยว่า ทำไมต้องร้องเพลงชาติแล้วทำไมเพลงชาติๆไทยจะต้องมาร้องตอน 08.00 กับ 18.00 นาฬิกาของทุวัน เป็นเวลาดีหรืออย่าไร บ้างก็ว่าเป็นเวลาของราชการของทหาร บ้างก็ว่าเกี่ยวกับแสงอาทิตย์ ตอนเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสานั้นแสงสว่างกำลังดี และนำธงชาติลงในเวลาหกโมงเย็นเมื่อพระอาทิตย์เริ่มสิ้นแสง
                ยังไม่มีใครการันตีได้ว่า เนื่องด้วยเหตุผลอะไร แต่นักวิชาการหลายๆท่านได้ทำการวิเคราะห์หาเหตุผลมาตอบลูกๆหลานๆกันได้ว่า แรกเริ่มเดิมทีเป็นการรณรงค์เพื่อความเป็นรัฐนิยมในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีอยู่ จุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกนิยมชมชอบและสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย และยังเป็นการเผยแพร่สัญลักษณ์ธงชาไทยให้ปรากฏจนชินตาแก่ผู้พบเห็นคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นจึงได้กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐประดับธงชาติไว้ในสถานที่อันควร ในบริเวณที่ทำการทุกวันและตลอดเวลา
เคารพธงชาติ
เคารพธงชาติ
                หลังจากนั้นไม่นานเมื่อมีคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเข้ายึดอำนาจ และมีการตั้งรัฐบาลขึ้น โดยมี นายธานินทร์  กรัยวิเชียร  เป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยนี้ได้มีมติเห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอว่าให้เริ่มมีการกำหนดเวลาเชิญธงขึ้น และเชิญธงลงจากยอดเสาธงเพลงชาติไทย โดยจะเชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสาในเวลา 08.00 นาฬิกา และเชิญธงชาติไทยลงในเวลา 18.00 นาฬิกาของทุวัน พร้อมมีนโยบายเชิญชวนให้ข้าราชการหยุดยืนเคารพธงชาติในเวลา เพื่อเป็นตัวอย่างอันดีแก่ประชาชนทั่วไป โดยมีประกาศอยู่ในราชกิจจานุเบกษาเรื่องระเบียบการชักธงชาติ ถือเป็นจุดเริ่มต้นขอการเคารพธงชาติในเวลา 08.00 กับ 18.00 นาฬิกาของทุวัน

                นอกจากนั้น ตามสถานที่สำคัญ ตามสี่แยกต่างๆจะมีการติดตั้งเครื่องขยายเสียงเพื่อเปิดรับฟังการเทียบเวลาจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ทุกเวลา 08.00 กับ 18.00 นาฬิกา ประชาชนทุกคนจะต้องได้ยินเสียงเพลงชาติขับร้องบรรเลงขึ้น ผู้คนจะต้องละจากการทำกิจกรรมทุกอย่างและหยุดยืนตรงเคารพธงชาติ จนกลายเป็นเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติที่เคยชินสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้นั่นเอง